top of page

01 NON-EXISTENT SOUND


Korawat Sangtaweep (Parn aka Juerk) Sound Engineer


อดีตสถาปนิกและมือเบสปัจจุบันของสองวงอินดี้คือ Folk9 และ Cloud Behind ผู้เริ่มเล่นดนตรีจากเพลงร็อคของวง Led Zeppelin แล้วมาอินเสียง Sound Effect ฟิ๊ง! ตูม! ใน Studio ทำเสียงภาพยนตร์โฆษณา ปัจจุบันเป็น Sound Engineer ที่เนิร์ดกับการใช้หลักการคิดแบบสถาปัตย์และนักดนตรีมาผสมผสานกัน





 

เสียงที่ไม่มีจริง

“โฆษณามันต้องโฉ่งฉ่าง อย่างเสียงในภาพยนตร์เราอาจจะไม่รู้สึกถึงมันเลยถ้าไม่ได้สังเกตชัดๆ ซึ่งในโฆษณาแบบที่เราได้ทำเยอะที่สุดคือเสียงที่ไม่มีอยู่จริง อย่างเช่น ตัวหนังสือใหญ่ๆ ฟาดเข้ามาที่หน้า ฟิ๊ง! ตูม! ภาพยนตร์กับโฆษณาเลยต่างกันตรงนี้ เสียงซาวนด์เอ็ฟเฟ็คหรือเสียงคนพูดในงานโฆษณามันไม่มีสูตรตายตัว เช่น อยากได้เสียงระเบิดสำหรับฉากต่อสู้ มันไม่มีสูตรตายตัวว่าเสียงระเบิดแบบนี้คือระเบิดที่ดี วิธีการทำงานเลยไม่เหมือนกัน ถ้าทำเสียงให้ตรงกับภาพ เราจะรู้ว่ามันดีหรือไม่ดีตรงที่มันเนียนหรือไม่เนียน พอเป็นเสียงที่ไม่มีอยู่จริง เราเลยไม่รู้แน่นอน”



เสียงโฆษณา VS การทำเพลง

“เราเอาเทคนิคโฆษณากลับไปใช้ในการทำเพลงเยอะมากๆ ปกติเราจะมองเพลงเป็น track เดียว เวลาฟังเพลงก็คือฟังแต่เพลง แต่พอมาทำโฆษณา เพลงมันเป็นแค่ส่วนหนึ่งในงานโฆษณา หลายๆ ครั้ง เพลงเป็นสิ่งที่เปิดในฉากๆ หนึ่ง เลยกลับมาคิดว่าแทนที่เราจะฟังแค่เพลงอย่างเดียว ทำไมเราไม่จินตนาการต่อว่าเพลงมันกำลังเล่นอยู่ที่ไหน ซึ่งเราสามารถเพิ่มเสียงบรรยากาศเข้าไปได้ หรือเพิ่มการออกแบบเสียงต่างๆ ไปในเพลงได้”


“ในทางกลับกัน เราเอาแนวคิดเรื่องจังหวะจากการทำเพลงมาใช้ในงานโฆษณา จังหวะคือการให้เพลงและซาวนด์เอ็ฟเฟ็คซิงค์กับภาพ อาจจะเป็นจังหวะขยับซ้ายขวา พยักหน้า เหมือนเราดูเอ็มวีที่สร้างมาเพื่อประกอบเพลง แต่เราเริ่มจากภาพก่อนแล้วค่อยเอาเสียงไปประกอบหนัง”


พอเรามองเพลงให้เป็นหนังก็ทำให้เรามีเครื่องมือในการทำเพลงมากขึ้น แม้สุดท้ายบอกไม่ได้ว่ามันดีหรือเปล่านะ แต่เราพอใจกับผลงานทีไ่ด้มากกว่าเดิม

มองหนังให้เป็นเพลง มองเพลงให้เป็นหนัง

“ล่าสุดเราทำเพลงให้เพื่อน เพลงมันพูดเกี่ยวกับบทสวดต่างๆในศาสนา ซึ่งเราไม่กล้าไปตีความหมายว่ามันดีหรือไม่ดี เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมหรอก ถ้าเป็นก่อนหน้านี้ก็คงจะมิกซ์มันเป็นเพลงร็อคเพลงหนึ่ง ที่ไม่ได้มีมิติหรือเรื่องของสถานที่เข้ามาเกี่ยวข้อง”


“แล้วยิ่งเราจบสถาปัตย์ เวลาทำเสียงเราจะจินตนาการเรื่องสเปซตลอด คิดว่าเขาพูดอยู่ที่ไหน มันก้องมากก้องน้อย สมัยเรียนทั้งที่คณะสถาปัตย์และสาขา Sound Engineer จะมีวิชาหนึ่งที่สอนเหมือนกันคือ Acoustic Design แสดงให้เห็นว่าสองสิ่งนี้เกี่ยวข้องกันอยู่ เราเลยใช้เทคนิคบางอย่างให้มันสนับสนุนกัน เช่น ใส่เสียงฆ้องหรือเอา Reverb ของห้องที่เหมือนเป็นโบสถ์ไปใส่ในท่อนต่างๆ พอเรามองเพลงให้เป็นหนังก็ทำให้เรามีเครื่องมือในการทำเพลงมากขึ้น แม้สุดท้ายบอกไม่ได้ว่ามันดีหรือเปล่านะ แต่เราพอใจกับผลงานทีไ่ด้มากกว่าเดิม”

bottom of page